รายละเอียดข่าวสารสุขภาพ


  ข่าวสารสุขภาพ วันที่ 22 สิงหาคม 2561

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined variable: rc

Filename: news/healthdetail_view.php

Line Number: 180

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Trying to get property of non-object

Filename: news/healthdetail_view.php

Line Number: 180

()



ไบโพล่า กับ 9 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า คุณอาจกำลังเป็นโรคนี้อยู่






โรคไบโพล่า 9 สัญญาณเตือนบอกให้รู้ว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคนี้อยู่

โรคไบโพล่า 9 สัญญาณเตือนบอกให้รู้ว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคนี้อยู่

โรคไบโพล่า หรือที่รู้จักในชื่อของโรคอารมณ์สองขั้ว ถือเป็นความผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอาการคลุ้มคลั่ง หรือมีอารมณ์ดีผิดปกติ แต่นอกจากจะมีอาการดังกล่าวแล้ว ยังมีการค้นพบว่า ผู้ป่วยมักมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วยค่ะ เราลองมาดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง

bipolar

  1. พูดเร็ว

คนที่เป็นโรคไบโพล่ามักจะพูด และคิดเร็ว ทั้งนี้ Glenn Hirsch จิตแพทย์ที่ Child Study Center กล่าวว่า “ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าจะคิดหลายๆ เรื่องในเวลาเดียวกัน และนั่นจะทำให้เขาเปลี่ยนหัวข้ออย่างรวดเร็ว ” นอกจากนี้ในมุมมองของคนทั่วไป ผู้ป่วยไบโพล่ามักจะพูดเร็วมาก ทำให้ยากที่จะพูดแทรกในระหว่างที่สนทนาค่ะ

  1. มั่นใจเกินไป

ผู้ป่วยบางคนอาจแสดงอาการที่ร้อนรนมากเกินไป หรือมีความมั่นใจในตัวเองสูง รวมถึงจะชอบโอ้อวด และรู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมาก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ถูกเผยแพร่ใน The Journal of Research Psychology ยังระบุด้วยว่า คนที่เป็นโรคไบโพล่ามีแนวโน้มที่จะตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นสำหรับตัวเอง และแสดงความคาดหวังที่สูงขึ้นในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้

  1. ต้องการนอนน้อยลง

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าบางคนอาจรู้สึกต้องการนอนน้อยลง ทั้งนี้ Dr. Scott จิตแพทย์กล่าวว่า “ ผู้ป่วยเหล่านี้จะรู้สึกว่าการนอนน้อยลงถือเป็นเรื่องปกติสำหรับพวกเขา แต่มีรายงานบอกว่าคนเหล่านี้จะไม่รู้สึกเหนื่อยในวันถัดมา ” นอกจากนี้ในช่วงที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะซึมเศร้า มันเรื่องปกติที่พวกเขาจะมีอาการเหนื่อยล้ามากค่ะ

  1. ฉุนเฉียวง่าย

ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงคลุ้มคลั่ง หรือเศร้า พวกเขามักจะมีความอดทนต่ำ และแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญ หรือฉุนเฉียวได้อย่างง่ายดาย รวมถึงจะมีอารมณ์แปรปรวนโดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้น

  1. ทำเรื่องที่มีความเสี่ยงมากขึ้น

ในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในช่วงคลุ้มคลั่ง พวกเขาจะมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพสารเสพติดเพิ่มขึ้น และใช้จ่ายเงินแบบฟุ่มเฟือย ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการดังกล่าวเพราะสมองส่วนที่เรียกว่า brain’s pleasure center ทำงานผิดปกติ ทำให้พวกเขาแสวงหากิจกรรมที่ทำให้ตัวเองพอใจมากขึ้น

  1. ไม่มีสมาธิ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่ามักจะมีจิตใจที่ว้าวุ่นเพราะขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับอารมณ์แปรปรวน ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน หรือไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ มีผลการทำงานที่แย่ลง ฯลฯ

  1. ชอบเข้าสังคม

คนที่ป่วยเป็นโรคไบโพล่ามีแนวโน้มที่จะชอบเข้าสังคมมากเกินไป “ ผู้ป่วยจะชอบอยู่รวมกับคนกลุ่มใหญ่ซึ่งอาจเป็นคนแปลกหน้าด้วยซ้ำ ” กล่าวโดย Karen Ritchie จิตแพทย์ นอกจากนี้เธอยังกล่าวเสริมด้วยว่า “ เมื่อเราพิจารณาว่าโรคกลัวการเข้าสังคมเป็นโรคชนิดหนึ่ง มันเป็นเรื่องที่น่าขันเหมือนกันว่าการเป็นคนเฟรนลี่ หรือชอบเข้าสังคมนั้นก็ถูกจัดว่าเป็นโรคเช่นกัน ”

  1. มีความต้องการทางเพศสูง

จากข้อมูลของ Everyday Health ได้มีการระบุว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าอาจพบว่าตัวเองมีแรงขับ หรือความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ หรือคิดแต่เรื่องเซ็กส์ตลอดเวลา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ หรือพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

  1. หุนหันพลันแล่น

โรคไบโพล่าสามารถทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่น โดยอาจใช้จ่ายเงินมากกว่าปกติ ขโมยของตามร้านค้า ขาดความระวังในเรื่องเพศ ฯลฯ ทั้งนี้มีงานวิจัยพบว่า สมองของผู้ป่วยโรคไบโพล่าจะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการเป็นอย่างมากไว้สูงกว่าเป้าหมายในระยะยาว

หากคุณเห็นคนรู้จัก หรือพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าว สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

หรือโทรสายด่วนสุขภาพจิต โทร 1323

เพราะหากปล่อยไว้นานอาการเหล่านี้ก็จะรุนแรงขึ้นอาจส่งผลในการดำเนินชีวิตของคุณรวมถึงยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างอีกด้วย

ขอบคุณแหล่งข่าว : .orami.co.th

ภาพประกอบ : กรมสุขภาพจิต




ข่าวสารสุขภาพ อื่นๆ


“ทุเรียน”กินพอดี มีประโยชน์

14 กรกฎาคม 2560
2

วิ่ง วิ่ง วิ่ง เพื่อสุขภาพ

15 พฤศจิกายน 2559
4

เสียงข้อ...บอกสุขภาพกระดูก

11 มิถุนายน 2560
6