รายละเอียดข่าวสารสุขภาพ


  ข่าวสารสุขภาพ วันที่ 2 เมษายน 2562

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined variable: rc

Filename: news/healthdetail_view.php

Line Number: 180

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Trying to get property of non-object

Filename: news/healthdetail_view.php

Line Number: 180

()



เมื่อทั่วเมืองเชียงใหม่เต็มไปด้วยฝุ่นพิษ PM 2.5






เมื่อทั่วเมืองเชียงใหม่เต็มไปด้วยฝุ่นพิษ.....

มลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศมีที่มาหลากหลาย รวมถึงฝุ่นผง ละอองธุลี ขี้เถ้า และเขม่าควัน และเกิดขึ้นทั้งจากแหล่งธรรมชาติ (เช่น เกลือทะเล) และที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างไอเสียจากรถยนต์และรถบรรทุก เมืองใหญ่และเขตอุตสาหกรรมที่มีการจราจรหนาแน่น โรงงาน และงานก่อสร้างมากมายมีแนวโน้มที่จะมีอันตรายจากการเจอกับมลพิษจากฝุ่นละอองมากกว่า แต่เขตชนบทก็มีความเสี่ยงเช่นกัน จากฝุ่นบนถนน จากมลพิษทางเกษตรกรรมในรูปของแอมโมเนียจากการใช้ปุ๋ยและมูลสัตว์ และจากหมอกควันที่เกิดขึ้นเมื่อชาวไร่ชาวนาเผาพื้นที่เพื่อเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูก

ยิ่งละอองฝุ่นมีขนาดเล็กลงเท่าใด ก็ยิ่งเป็นอันตรายคุกคามต่อสุขภาพเท่านั้น  เนื่องจากมันสามารถถูกสูดหายใจเข้าไป และมีขนาดเล็กพอที่จะเข้าไปลึกถึงปอดและทางเดินหายใจได้  บางอนุภาคอาจจะเข้าไปถึงกระแสเลือดและไหลเวียนทั่วร่างกายของเราได้ในที่สุด

ผลกระทบจากมลพิษละอองฝุ่นดังกล่าวต่อสุขภาพนั้นร้ายแรงกว่าที่เคยคิดกัน : จากงานศึกษาวิจัยสำคัญๆ ในระยะสิบปีที่ผ่านมา เดี๋ยวนี้ เราได้รู้แล้วว่า มลพิษทางอากาศเป็นอันตรายคุกคามสุขภาพของเรามากกว่าที่เราเคยเข้าใจ องค์การอนามัยโลกประมาณการว่ามีประชากรที่ต้อง “ตายก่อนเวลาอันควร” เนื่องจากมลพิษในอากาศทั่วโลกมากกว่า 6 ล้านคนในแต่ละปี และในจำนวนนี้ เป็นเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบราวร้อยละสิบ คือประมาณ 600,000 คน เมื่อคุณภาพอากาศเลวลง อัตราการไปห้องฉุกเฉินและการเข้าอยู่โรงพยาบาลจะสูงขึ้น เพราะมลพิษทำให้ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่กำเริบขึ้น และเป็นเหตุให้หัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบ หอบหืดกำเริบ และอื่นๆ อีกมากมาย

  • อันตรายคุกคามต่อหัวใจ การเผชิญกับมลพิษในอากาศอาจทำให้เกิดเหตุรุนแรงเฉียบพลันกับกล้ามเนื้อหัวใจได้ รวมทั้งหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ อัตราการผันแปรการเต้นของหัวใจลดลง ตลอดจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดการตายจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานปรากฏด้วยว่า ภาวะหลอดเลือดแข็ง โดยที่มีการสะสมตะกอนที่เรียกว่าพลาคภายในหลอดเลือดซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและหลอดเลือดสมองตีบจนถึงตายได้

  • อันตรายคุกคามต่อปอดและทางเดินหายใจ : มลพิษในอากาศเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอดและระบบทางเดินหายใจและที่ทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ ซึ่งรวมถึงโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด

  • อันตรายคุกคามต่อสมอง : เป็นที่เชื่อกันว่า การเผชิญกับมลพิษในอากาศเป็นระยะยาวเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในสมองได้

ใครอยู่ในกลุ่มที่มีภาวะความเสี่ยงสูง?

  • เด็กอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงด้วยเหตุหลายประการ – ส่วนใหญ่แล้วเด็กมักใช้เวลาอยู่กลางแจ้งเพื่อเล่นกีฬาและทำกิจกรรมนอกบ้าน ยิ่งอายุน้อยเท่าใด ความเสี่ยงยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ปอดและระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนา การเผชิญกับมลพิษในอากาศจะขัดขวางการเจริญเติบโตของปอดในเด็กในวัยเรียน นอกจากนั้น เด็กยังมีอัตราที่จะเป็นโรคหอบหืดและโรคระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงอื่นๆ มากกว่า ซึ่งโรคเหล่านี้กำเริบขึ้นได้อย่างง่ายดายเมื่อระดับมลพิษสูง

  • หญิงมีครรภ์  การเผชิญกับมลพิษในอากาศจากฝุ่นละอองในระดับสูงระหว่างตั้งครรภ์มีความเชื่อมโยงกันกับการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวทารกแรกคลอดต่ำ และความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตรและอัตราการตายของทารกเพิ่มขึ้น

  • ผู้สูงวัย ต้องเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับมลพิษ ทั้งนี้เพราะระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุมักจะอ่อนแอลง และร่างกายมักจะมีความสามารถน้อยลงที่จะรับมือกับมลพิษในอากาศ นอกจากนั้น ผู้สูงอายุยังมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือระบบทางเดินหายใจที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยซึ่งกำเริบขึ้นเนื่องจากมลพิษในอากาศ

  • ผู้ที่เป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหอบหืด โรคถุงลมในปอดโป่งพอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากอนุภาคฝุ่นละอองสามารถทำให้สภาวะโรคที่มีอยู่ก่อนหน้านี้กำเริบขึ้นได้

คุณสามารถลดทอนอันตรายที่อาจเกิดกับคุณได้ โดยการเฝ้าตรวจสอบระดับมลพิษแบบเรียลไทม์และการพยากรณ์ดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งมีพร้อมให้ดูออนไลน์ และผ่านสมาร์ทโฟนแอพ อย่างเช่น Asia Air Quality (Android), Global Air Quality (Android) และ Air Quality Index (iOS)

ในช่วงที่ระดับมลพิษสูงขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้

  • ลดกิจกรรมนอกบ้าน : อันตรายความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากมลพิษในอากาศจะเพิ่มขึ้นหากทำกิจกรรมนอกบ้านที่ใช้กำลังมาก ตามระยะเวลาที่อยู่กลางแจ้ง และระดับความรุนแรงของมลพิษ ดังนั้น เราสามารถลดอันตรายลงได้โดยลดระดับการใช้กำลัง (ตัวอย่างเช่น เดินแทนที่จะวิ่งเหยาะๆ) ลดเวลาอยู่กลางแจ้งลง และวางแผนเลี่ยงทำกิจกรรมในช่วงเวลาหรือในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง อย่างเช่นถนนที่มีการจราจรติดขัดและทางหลวงที่มีผู้ใช้หนาแน่น

  • อยู่ภายในอาคารเมื่อระดับมลพิษสูง : เมื่อระดับมลพิษขึ้นสูงขนาดที่เป็นอันตราย ให้พิจารณาการอยู่ภายในอาคารและย้ายไปทำกิจกรรมภายในอาคาร เช่น แทนที่จะออกกำลังบริหารร่างกายกลางแจ้ง ให้มาออกกำลังในโรงยิมแทนเพื่อใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่อากาศสะอาดกว่า

  • ปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร : ปิดหน้าต่างให้หมดในช่วงมลพิษสูง ปรับเครื่องปรับอากาศให้ใช้อากาศภายในอาคารหมุนเวียนแทนที่จะดึงเอาอากาศภายนอกเข้ามา พิจารณาการใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีเครี่องกรองอนุภาคฝุ่นละอองที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้เพื่อลดระดับอนุภาคภายในอาคาร คอยดูแลให้บริเวณแวดล้อมบ้านปราศจากควัน และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งที่มีการเผาไหม้ เช่น เทียน การปิ้งย่าง หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่ทำให้เกิดควัน

  • สวมหน้ากากป้องกันทางเดินหายใจที่เหมาะสม เมื่อสวมอย่างถูกต้องแล้ว หน้ากากป้องกันทางเดินหายใจจะสามารถกรองอนุภาคฝุ่นละอองที่สร้างมลพิษในอากาศได้สูงถึงร้อยละ 99 (หน้ากาก N95 กรองได้อย่างน้อยร้อยละ 95 ส่วนหน้ากาก N99 กรองได้ร้อยละ 99) แต่หน้ากากเหล่านี้จะใช้การได้ดีก็ต่อเมื่อสวมอย่างถูกต้องเท่านั้น ดังนั้น ต้องแน่ใจว่าสวมตามวิธีการที่ระบุไว้และหมั่นตรวจสอบให้หน้ากากรกระชับกับหน้าอย่างเหมาะสม อนึ่ง ควรเข้าใจว่าหน้ากากป้องกันทางเดินหายใจต้านมลพิษไม่เหมือนกับกับหน้ากากที่แพทย์และพยาบาลใส่ในห้องผ่าตัด หรือหน้ากากที่ทำจากผ้าหรือกระดาษ – ซึ่งหน้ากากพวกนี้ไม่มีประสิทธิผลเลยโดยสิ้นเชิงในการต้านมลพิษในอากาศจากอนุภาคฝุ่นละออง หน้ากาก N95 และ N99 มีจำหน่ายตามร้านค้าส่วนใหญ่ที่ขายผลิตภัณฑ์ปรับปรุงที่อยู่อาศัยและผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัย 
        

สนใจสังเกตอาการ : อาการเรื้อรังต่อเนื่องอย่างเช่น การหายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ หรือไอรุนแรง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งถึงปัญหาที่มีสาเหตุเกี่ยวกับสภาพปอดหรือการทำงานของปอด รีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการใหม่ๆ ที่แสดงถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจหรือระบบทางเดินหายใจ หรือสังเกตว่าสุขภาพแย่ลง

ที่มา : ศูนย์โรคปอด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ภาพประกอบ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข




ข่าวสารสุขภาพ อื่นๆ


พ่อแม่มือใหม่ตรวจเลือดก่อนมีลูก หลีกเลี่ยงธาลัสซีเมีย

15 กันยายน 2560
453

หยุดกินมั่ว! จับคู่อาหารให้สบายท้อง

30 สิงหาคม 2559
7

ป้องกันโรคฟันในเด็ก

15 พฤศจิกายน 2559
23