รายละเอียดข่าวสารสุขภาพ


  ข่าวสารสุขภาพ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined variable: rc

Filename: news/healthdetail_view.php

Line Number: 180

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Trying to get property of non-object

Filename: news/healthdetail_view.php

Line Number: 180

()



เมื่อประเทศไทย กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์






หลายประเทศทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หรือสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และประชากรโลกจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในอีก 35 ปีข้างหน้า โดยจะมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สังคมผู้สูงอายุ

นี่เป็นความท้าทายที่ทุกประเทศต้องเผชิญ เพียงแต่ผลที่จะเกิดขึ้นอาจรวดเร็วและรุนแรงแตกต่างกัน ประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนา ประเทศในแถบยุโรปส่วนใหญ่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ตามมาด้วยประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ รวมถึงไทย

สิงคโปร์มีสัดส่วนของผู้สูงอายุใกล้เคียงกับไทย และเป็นสังคมผู้สูงอายุ แม้สิงคโปร์จะเตรียมแผนรับมือกับความท้าทายนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ก็ยังคงเผชิญกับปัญหาการมีบุตรน้อยลงและผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังมากขึ้น

เกาหลีใต้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่มีแผนรองรับที่เป็นรูปธรรม และผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีฐานะยากจน

ส่วนญี่ปุ่นมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด (Hyper-Aged Society) หรือสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง

สำหรับไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุไปสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยในขณะนี้ไทยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากถึงร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน และภายในปี 2583 ประชากรในกลุ่มนี้จะเพิ่มจำนวนเป็น 17 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ

สถานการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่น่ากังวลคือประเทศไทย แก่ก่อนรวยรวมทั้งมีสัดส่วนผู้สูงอายุที่ เรียนสูงน้อยกว่าประเทศอื่น ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าไทยพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายนี้มากน้อยเพียงใด

ต่อเรื่องนี้ การทำความรู้จักนโยบายรับมือสังคมผู้สูงอายุของประเทศผู้นำเอเชียสามประเทศข้างต้นจึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย สำหรับใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น อย่างเช่น

1. การขยายอายุเกษียณ เป็นนโยบายที่ทำได้ในระยะสั้น แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร หลายประเทศใช้นโยบายนี้เพื่อเพิ่มจำนวนคนวัยทำงาน ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ โดยสิงคโปร์เพิ่มอายุเกษียณจาก 65 เป็น 67 ปี และเกาหลีใต้จะขยายอายุเกษียณจาก 55 เป็น 60 ปีภายในปีนี้ ญี่ปุ่นจะให้ผู้สูงอายุทำงานได้จนถึงอายุ 65 ปี จากเดิมที่ 62 ปี ภายในปี 2025 ขณะที่ไทยอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ขยายอายุเกษียณของแรงงานในสถานประกอบการจาก 55 เป็น 60 ปี

2. การสนับสนุนให้บริษัทจ้างงานผู้สูงอายุ เป็นนโยบายที่ช่วยสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ รัฐบาลสิงคโปร์ให้เงินสนับสนุนแก่บริษัทที่จ้างผู้สูงอายุให้ทำงานต่อ (Special Employment Credit) โดยมีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund) เท่านั้น โครงการนี้จึงไม่ครอบคลุมกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระ นอกจากนี้ ทางการยังให้เงินสนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เอื้อต่อผู้สูงอายุ (Workpro Program) เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่สนับสนุนให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยตั้งองค์กร ‘Silver Human Resources Center’ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุทำงานในช่วงเวลาสั้นลง หรือทำงานที่เบาและง่ายรูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สำหรับไทย ภาครัฐตั้งศูนย์บริการจัดหางานผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่จ้างผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งต้องมีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท อย่างไรก็ตาม แรงงานสูงอายุกลุ่มนี้มีเพียง 3 แสนคน หรือร้อยละ 2.9 ของผู้สูงอายุทั้งประเทศ นโยบายนี้จึงเป็นเพียงการช่วยเหลือแรงงานเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยไม่ได้สนับสนุนให้มีการนำทักษะและประสบการณ์ของผู้สูงอายุมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. การเพิ่มทักษะและการจัดหางานให้เหมาะสมกับแรงงาน จะช่วยเพิ่มความสามารถในการหารายได้ และยกระดับผลิตภาพของแรงงานในระยะยาว ซึ่งทำได้ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบตลอดช่วงอายุ โดยมากมักได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ‘Senior Work Program’ ในญี่ปุ่น และ ‘SkillsFuture Program’ ใน สิงคโปร์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาทักษะเพิ่มเติม ควบคู่กับการจัดหางานที่เหมาะสมให้แก่แรงงาน

สำหรับไทย ขณะนี้ภาครัฐมีโครงการฝึกอบรมแรงงานสูงอายุเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น และมีการคุ้มครองทางสังคมให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้

4. การยกระดับคุณภาพชีวิตจำเป็นต้องวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ โดยภาครัฐมีส่วนสำคัญในการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดสรรรายได้และรายจ่ายอย่างสมดุล โดยเฉพาะรายได้หลังวัยเกษียณ ผ่านการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นอกจากนี้ ภาคเอกชนก็มีส่วนช่วยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ เช่น เกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีการคิดค้นหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ดูแลที่เป็นผู้หญิงหรืออยู่ในวัยทำงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างหมดห่วง รวมทั้งมีการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกที่คนทุกวัยใช้ร่วมกันได้ (Universal Design)

ประเทศไทยมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ค่อนข้างจำกัด ส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการทางการแพทย์ที่อยู่ไกลจากบ้าน หรือไม่มีรถโดยสารเดินทางไปต่างสถานที่ ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีความยากลำบากในการเข้าถึงสวัสดิการจากส่วนกลาง

5. การมีส่วนร่วมและการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ สิงคโปร์มีแผนนโยบายแห่งชาติเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยเริ่มวางแผนมานานกว่า 50 ปี และมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนนโยบายที่มีทิศทางสอดคล้องกันระหว่างกระทรวงต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยต้องพัฒนาต่อไป โดยระบบบำนาญจะต้องยืดหยุ่นและสอดคล้องกับแนวโน้มนโยบายด้านแรงงาน ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปยังภาระการคลังในการดูแลสวัสดิการและ รักษาพยาบาล

ทั้งหมดนี้เป็นนโยบายที่เกิดขึ้นจริงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากร และเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน แม้ว่าที่ผ่านมา ไทยจะมีนโยบายรองรับไปบ้างแล้ว แต่การวางแผนและการดำเนินนโยบายยังค่อนข้างกระจัดกระจาย ซึ่งหากมีการตั้งหน่วยงานรับผิดชอบและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ก็จะช่วยให้เกิดแนวทางการรับมือกับความท้าทายอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

ขอบคุณแหล่งข่าว : ถอดบทเรียนนโยบายรับมือสังคมสูงวัยจากต่างประเทศ’ โดย ธนภรณ์ จิตตินันทน์ และ ณัคนางค์ กุลนาถศิริ

                           World Population Ageing โดยองค์การสหประชาชาติ

ขอบคุณภาพประกอบ : สสส. ,เว็ปไซต์ต่างๆ

 




ข่าวสารสุขภาพ อื่นๆ


ป้องกันภาวะ 'สมองเสื่อม'

15 กันยายน 2560
445

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นมะเร็ง

24 มกราคม 2560
12

ล้างมืออย่างไร ให้สะอาด ปราศจากโรค

23 ธันวาคม 2559
22